วิธีการเลือกกองทุนรวมสำหรับมือใหม่ แบบเข้าใจง่ายที่สุด
เพิ่งเข้าวงการกองทุนรวมไม่รู้จะเลือกกองทุนรวมไหนดี? เตรียมพบกับเทคนิคดีๆ ในการเลือกกองทุนรวมสำหรับมือใหม่ที่เข้าใจได้อย่างง่ายดาย
ทำความรู้จักกับกองทุนรวมให้มากยิ่งขึ้น
“กองทุนรวม” หรือ Mutual Fund เป็นการรวบรวมเงินของนักลงทุนหลายรายมารวมกันเพื่อนำไปซื้อสินทรัพย์ โดยมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เป็นผู้จัดการเลือกกองทุนที่มีประสิทธิภาพหรือตามนโยบายที่ทางผู้จัดการกองทุนได้ตั้งไว้
เปิด 7 เคล็ดลับเลือกกองทุนรวมสำหรับมือใหม่

ปัจจุบันมีประเภทของกองทุนรวมให้ได้เลือกมากมายทำให้มือใหม่หลายคนไม่รู้ว่าจะเลือกกองทุนไหนดี มาเคล็ดลับดีๆ สำหรับการเลือกทุนหากคุณเป็นมือใหม่ที่สนใจจะซื้อกองทุนรวม
1.ทำความรู้จักประเภทของกองทุนรวมให้ครบถ้วน
สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งรู้จักกองทุนรวมและมีความสนใจที่เลือกซื้อกองทุนรวม ควรทำความรู้จักประเภทของกองทุนรวมให้ครบทุกประเภทเพื่อจะได้ตัดสินใจเลือกซื้อหรือลงทุนได้ตามเป้าหมายที่เราต้องการ โดยประเภทของกองทุนรวมมีดังนี้
- กองทุนรวมตราสารหนี้: ลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้
- กองทุนรวมตลาดเงิน: ลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ที่มีกำหนดชำระเงินต้น
- กองทุนรวมตราสารทุน: เป็นกองทุนที่ลงทุนในตราสารทุนหรือหุ้นประเภทต่างๆ
- กองทุนรวมผสม: เป็นกองทุนรวมที่ลงทุนแบบกระจายความเสี่ยงไปในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ
- กองทุนรวมตามหมวดอุตสาหกรรม: เน้นลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรม
กองทุนรวมทางเลือก: เป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในทางเลือกอื่นๆ ที่นอกเหนือจากสินทรัพย์พื้นฐาน

2.ศึกษาปัจจัยที่สำคัญก่อนเลือกซื้อกองทุนรวม
ปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจก่อนเลือกซื้อกองทุนมีหลายปัจจัย โดยปัจจัยที่มีผลในการตัดสินใจมีดังนี้
- ระดับความเสี่ยง: โดยปกติกองทุนรวมแต่ละประเภทจะมีความเสี่ยงตั้งแต่ 1 – 8 ซึ่งความเสี่ยงถือเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเลือกลงทุนของผู้ที่ต้องการซื้อกองทุนรวม
- ผลตอบแทนย้อนหลัง: ก่อนจะซื้อกองทุนรวมควรเลือกดูผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุนที่จะซื้อเพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจว่ากองทุนที่เราจะลงทุนมีแนวโน้มผลตอบแทนในช่วง 3 เดือน, 6 เดือน, 1 ปี, 5 ปี หรือ 10 ปี เป็นยังไงบ้าง การดูผลตอบแทนย้อนหลังจะทำให้เราทราบภาพรวมของกองทุน
- นโยบายของกองทุนรวม: นักลงทุนควรเลือกนโยบายการลงทุนหรือตรวจสอบการลงทุนให้แบบละเอียดเพื่อจะได้รู้ว่าแนวทางการลงทุนในสินทรัพย์ของกองทุนเป็นไปในทิศทางใด
- ข้อมูลสำคัญในหนังสือชี้ชวน (Fund Fact Sheet): หนังสือชี้ชวน (Fund Fact Sheet) เป็นเอกสารที่ควรศึกษาก่อนลงทุนเนื่องจากมีข้อมูลทุกอย่างของกองทุนรวมไว้ให้ในที่เดียว
- มูลค่าสินทรัพย์ต่อหน่วยลงทุน: มูลค่าสินทรัพย์ต่อหน่วยลงทุนหรือ NAV ต่อหน่วย เป็นสิ่งที่นักลงทุนควรสนใจเนื่องจากเป็นตัวแปรที่บอกว่า กองทุนที่เราสนใจถูกหรือแพง

-
หากลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมแก่ตัวเอง
นักลงทุนมือใหม่ควรหากลยุทธ์ในการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเองเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการลงทุนที่สูงสุด ซึ่งหากศึกษาอย่างละเอียดจะพบว่ากลยุทธ์ในการลงทุนมีดังนี้
- Dollar Cost Averaging (DCA)
เป็นการลงทุนที่นำเงินลงทุนเป็นงวดๆ ด้วยเงินจำนวนที่เท่ากันในแต่ละครั้ง โดยไม่สนว่าราคาของหน่วยกองทุน ณ เวลานั้นจะขึ้นหรือลงเป็นการลงที่ต้องการความสม่ำเสมอ การลงทุนแบบ DCA จึงถือเป็นการลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนในระยะยาว
- Lump Sum
เป็นการลงทุนที่นำเงินลงทุนก้อนใหญ่มาลงทุนในจังหวะที่เหมาะสมโดยต้องมั่นใจว่ากองทุนที่ได้ลงทุนไปจะมีการปรับราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการลงทุนแบบ “Lump Sum” จะได้ผลตอบแทนสูงและมีความเสี่ยงสูงมากเช่นกัน
- Core & Satellite
อีกหนึ่งกลยุทธ์ในการลงทุนที่ได้รับความนิยม Core & Satellite เป็นการลงทุนที่แสวงหาผลตอบแทนจากสภาวะที่ผันผวนของตลาด โดยจะแบ่งเงินลงทุนออกเป็น 2 ส่วน คือ
- ส่วนหลัก (Core): ส่วนนี้จะหวังการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการลงทุนในระยะยาว
- ส่วนเสริม (Satellite): ส่วนเสริมจะมีเป้าหมายในการลงทุนที่หวังทำกำไรในระยะกลาง – สั้น

4.กำหนดเป้าหมายการลงทุนให้ชัดเจน
เมื่อรู้ปัจจัยและรายละเอียดของแต่ละกองทุน “การกำหนดเป้าหมาย” การลงทุนให้ชัดเจนจะทำให้นักลงทุนสามารถรู้ได้ว่าต้องลงทุนในระยะยาวหรือระยะสั้น รับความเสี่ยงได้ในระดับไหน จะทำให้ลงทุนได้อย่างตรงจุดประสงค์

5.ทำความเข้าใจค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายในการลงทุน
อีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่มือใหม่ไม่ควรพลาด ในการลงทุนกองทุนรวมไม่ควรมองข้ามค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายซึ่งกองทุนแต่ละกองทุนจะมีการเก็บค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันออกไป บางกองทุนอาจเรียกเก็บตอนซื้อหรือตอนขาย บางกองทุนอาจไม่มีค่าธรรมเนียมหรือบางกองทุนอาจมีการเก็บค่าบริหารจัดการกองทุนแทน โดยค่าธรรมเนียมที่มีการเรียกเก็บจากนักลงทุนมีดังนี้
- ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-End): เป็นค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บตอนขายหน่วยลงทุน
- ค่าธรรมเนียมการซื้อคืน (Back-End): เป็นค่าธรรมเนียมที่เก็บเมื่อขายกองทุน โดยกองทุนจะซื้อหน่วยลงทุนเราคืนไป
ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม: เป็นค่าธรรมเนียมที่หักเปอร์เซ็นต์จากกองทุนรวมในทุกวัน

6.เลือกเวลาซื้อและขายออกให้เหมาะสม
สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเข้าวงการนี้ไม่นาน การเลือกเวลาซื้อและขายหน่วยกองทุนในเวลาที่เหมาะสมถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่ง โดยปกติการเลือกซื้อหน่วยกองทุนจะเลือกซื้อช่วงที่ราคาต่ำเพื่อจะได้นำไปขายในราคาที่สูงเพื่อหากำไรจากผลต่างของหน่วยกองทุนที่ขายไป

7.ติดตามผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่ซื้อไป
แม้กองทุนรวมจะมีผู้จัดการกองทุนที่คอยจัดการสินทรัพย์ที่เรานำไปลงทุน แต่การติดตามผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่ซื้อถือเป็นสิ่งที่มือใหม่ควรทำอยู่เป็นประจำ อย่างน้อยควรติดตามผลการดำเนินงานในทุกๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี เพื่อจะได้รู้ว่ากองทุนที่ซื้อไปมีประสิทธิภาพและเป็นกองทุนที่ดีหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามที่คาดหวังจะได้ขายออกได้ทัน
มือใหม่ลงทุนในกองทุนรวมประเภทไหนดี
สำหรับมือใหม่ที่แม้จะรู้เคล็ดลับหรือเทคนิคในการเลือกกองทุนรวมไปแล้ว แต่บางคนอาจยังไม่มั่นใจหรือไม่รู้ว่าจะเลือกลงทุน ในกองทุนประเภทไหน มาดูประเภทของกองทุนที่น่าลงทุนสำหรับมือใหม่กันดีกว่า
1.กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น (Short Term Bond Fund)
เป็นกองทุนที่มีระยะเวลาในการลงทุนไม่เกิน 1 ปี ทำให้มีความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนที่ได้อาจไม่สูงแต่ได้ผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นเหมาะมากสำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่ต้องการเข้ามาลงทุนในกองทุนรวม

ตัวอย่างกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นที่น่าสนใจ
- กองทุนเปิดเคเอ ชอร์ท เทอม ฟิกซ์ อินคัม (KASF)
- กองทุนเปิดเคเคพี ตราสารหนี้พลัส ชนิดทั่วไป (KKP Plus)
- กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารหนี้ ชนิดสะสมมูลค่า (SCBFIXEDA)
- กองทุนเปิดเค เอสเอฟ พลัส (K-SFPLUS)
2.กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะกลาง (Medium Term Bond Fund)
หากคุณเป็นนักลงทุนมือใหม่ที่รับความเสี่ยงระดับปานกลางได้ โดยกองทุนประเภทนี้จะลงทุนในตราสารหนี้ที่มีระยะเวลาคงเหลือ 1 – 7 ปี ซึ่งผลตอบแทนที่ได้มีแนวโน้มที่จะเติบโตมากกว่ากองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น แต่ก็แลกมากับความผันผวนที่มากกว่า

ตัวอย่างกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะกลางที่น่าลงทุน
- กองทุนเปิดตราสารหนี้ระยะกลาง (KFMTFI)
- กองทุนเปิดไทยพาณิชย์เกษียณสุข (SCBRF)
- กองทุนเปิดเค หุ้นกู้ ชนิดผู้ลงทุนทั่วไป (K-CBOND-A)
- กองทุนเปิด ไทย ตราสารหนี้ (TFIF)
3.กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Equity Fund)
กองทุนรวมหุ้นระยะยาวเป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นที่มีระยะเวลามากกว่า 5 ปี มีความเสี่ยงระดับปานกลางแต่มีประสิทธิภาพในการให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเช่นกัน ถ้าหากคุณเป็นนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในระยะยาวได้ การเลือกซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาวถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี

ตัวอย่างกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะยาวที่ให้ผลตอบแทนที่ดี
- กองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ ชนิดผู้ลงทุนทั่วไป (K-FIXED-A)
- กองทุนเปิดฟิลลิปตราสารหนี้ไทย (PBOND)
- กองทุนเปิด เอไอเอ อินคัม ฟันด์ (AIA-IC)
- กองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ โปรแอคทีฟ (K-FIXEDPRO
4.กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund)
กองทุนรวมที่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในความเสี่ยงที่ต่ำและมีสภาพคล่องที่สูง สินทรัพย์ที่ลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงินจะเป็นสินทรัพย์ที่สามารถขายคืนได้อย่างรวดเร็ว แม้จะได้ผลตอบแทนไม่มากแต่ผลตอบแทนมีความสม่ำเสมอแน่นอน

ตัวอย่างกองทุนรวมตลาดเงินที่เหมาะสำหรับมือใหม่
- กองทุนเปิดธนชาตบริหารเงิน (T-Cash)
- กองทุนเปิด ไทย แคช แมเนจเม้นท์ ชนิดเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (TCMF)
- กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ตราสารตลาดเงิน ชนิดสะสมมูลค่า (SCBMONEY(A))
- กองทุนเปิดกรุงศรีตราสารเงิน-สะสมมูลค่า (KFCASH-A)
สรุป
- การเลือกกองทุนรวมสำหรับมือใหม่ควรเริ่มต้นจากการศึกษารายละเอียดของการลงทุนในกองทุนรวมให้ละเอียด
- กำหนดเป้าหมายของตัวเองในการลงทุนเพื่อจะได้รู้ว่าเราเหมาะกับกองทุนรวมประเภทไหน
- หากลยุทธ์ในการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเอง
- โดยการเลือกกองทุนรวมควรพิจารณาปัจจัยต่างๆ ให้รอบคอบก่อนการลงทุนในแต่ละครั้ง
- สำหรับมือใหม่อาจจะเริ่มลงทุนโดยการเลือกลงทุนในระดับความเสี่ยงต่ำ มีสภาพคล่องสูง ซื้อขายได้ง่าย
- จำไว้ว่าทุกการลงทุนมีความเสี่ยง แม้จะเลือกกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงแต่ควรพร้อมรับกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้