Skip to content
ส่องปัจจัยที่สำคัญที่ต้องพิจารณาหากจะลงทุนในกองทุนรวม
- กองทุนรวมถือว่าเป็นการลงทุนประเภทหนึ่งสำหรับนักลงทุน ซึ่งถือเป็นวิธีลงทุนที่ยอดนิยมสำหรับนักลงทุนมือใหม่หรือผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาติดตามความเคลื่อนไหวของสิ่งที่เราได้ลงทุนไป
- กองทุนรวมจะเน้นการนำเงินทุนที่ได้มาไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ผ่านประเภทของกองทุนที่มีให้เลือกในตลาด
- โดยปัจจัยที่สำคัญที่ต้องพิจารณาหากเลือกที่จะลงทุนในกองทุนรวมมีทั้งหมด 11 ข้อดังนี้
วางแผนหรือกลยุทธ์ในการลงทุนให้ชัดเจน
- ก่อนจะเริ่มนำเงินทุนที่ได้มาไปลงทุนกับกองทุนรวมควรศึกษานโยบายของแต่ละกองทุนให้ดีก่อน
- หลังจากรู้ถึงนโยบายของแต่ละกองทุนเป็นอย่างดีแล้ว ให้ลองมองหากองทุนที่มีนโยบายด้านการลงทุนให้สอดคล้องกับตัวเองหรือลองตั้งเป้าหมายให้กับการลงทุนของตัวเองจะได้รู้ว่าเราเหมาะกับกองทุนตัวไหน
- อีกทั้งควรตรวจสอบเงินทุนหรือทรัพย์สินที่นำมาลงทุนด้วยว่าเราสามารถรับความเสี่ยงได้ระดับไหนหรือเงินทุนของเราสามารถซื้อกองทุนประเภทไหนให้ได้ผลตอบแทนที่ดี
- เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ตามเป้าหมายของตัวเองที่ได้วางไว้ก่อนเริ่มการลงทุนในกองทุนรวมนั้นเอง
พิจารณาความเสี่ยงในการลงทุนกับกองทุนรวม
- ศึกษาความเสี่ยงของกองทุนรวมในแต่ประเภทว่ามีความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้หรือสอดคล้องกับความต้องการของตัวเองหรือไม่ โดยความเสี่ยงของการซื้อกองทุนรวมมีดังนี้
- ความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดที่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงส่งผลให้ราคาของกองทุนเปลี่ยนแปลง
- ความเสี่ยงการเปลี่ยนแปลงของสภาวะตลาดโดยรวม เช่น ภาวะเศรษฐกิจในประเทศตกต่ำหรือซบเซา กองทุนที่ลงทุนไปอาจมีแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลง
- ความเสี่ยงจากทางการเมือง เช่น การเปลี่ยนรัฐบาล, การเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือเปลี่ยนนโยบายบริหารประเทศ ย่อมส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ในตลาด
- ความเสี่ยงจากการบริหารกองทุนของผู้จัดการกองทุนหรือบริษัทที่คอยดูแลกองทุน
- ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่อง ทำให้ไม่สามารถซื้อขายได้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม
อัตราค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียม
- ในแต่ละกองทุนรวมจะมีการอัตราค่าใช้จ่ายหรือการเก็บค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันออกไป
- ใครที่กำลังจะลงทุนในกองทุนรวมควรเลือกกองทุนรวมที่มีค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่ต่ำ
- โดยค่าธรรมเนียมที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อกองทุนรวม มีให้พิจารณาได้หลายค่าเช่น ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย, ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บเข้ากองทุนหรืออัตราการแลกเปลี่ยนเงินระหว่างประเทศก็มีผลต่อค่าตอบแทนที่จะได้รับในอนาคตเช่นกัน
- เพื่อเป็นการประหยัดเงินทุนและเพิ่มผลตอบแทนในระยะยาวให้กับผู้ที่ลงทุนได้
ผลตอบแทนของกองทุนรวม
- นักลงทุนควรศึกษาผลตอบแทนหรือผลดำเนินงานของกองทุนก่อนตัดสินใจซื้อกองทุนรวม
- เพื่อให้ดูว่าในอดีตกองทุนที่จะเลือกลงทุนได้ผลตอบแทนเป็นอย่างไร ซึ่งในจุดนี้ต้องพิจารณาส่วนอื่นๆ ควบคู่ไปด้วยเนื่องจากตลาดหรือสภาวะของเศรษฐกิจในอดีตอาจไม่เหมือนกับปัจจุบันนั้นเอง
- ควรย้อนดู 3 ปี หรือ 5 ปีให้หลัง เพื่อให้เห็นว่าในแต่ละช่วงเวลากองทุนที่ต้องการลงทุนมีผลตอบแทนเป็นอย่างไร มีความผันผวนของราคาในกองทุนเป็นอย่างไรบ้างในช่วย 3 – 5 ปีที่ผ่านมา
- โดยหลักการเลือกกองทุนรวม ควรเลือกกองทุนที่ให้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอในระยะยาว แต่อย่าลืมว่าผลตอบแทนในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องการันตีของผลตอบแทนในอนาคตที่กำลังจะมาถึง
- ซึ่งผลตอบแทนของกองทุนรวมจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ ส่วนต่างของราคาจะได้รับเมื่อทำการขายหน่วยลงทุนที่มีราคาสูงขึ้นและเงินปันผลจะได้รับเป็นรูปแบบเงินสดแต่เงินปันผลมักจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 10%
เลือกกองทุนรวมที่มีการกระจายความเสี่ยง
- อีกหนึ่งข้อสำคัญของการลงทุนคือการกระจายความเสี่ยง ที่นักลงทุนที่มีประสบการณ์หรืออยู่ในวงการมานานมักให้ความสำคัญกับข้อนี้เป็นอย่างมาก
- ซึ่งนักลงทุนที่เลือกลงทุนในกองทุนรวมควรเลือกกองทุนที่มีการกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไป
- การกระจายความเสี่ยงจะมีโอกาสทำให้ได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้นและช่วยลดความเสี่ยงลงได้อีกด้วย
เลือกผู้จัดการกองทุนที่มีความสามารถ
- ผู้จัดการกองทุนมีบทบาทสำคัญมากต่อการดำเนินงานของกองทุนรวม อีกทั้งยังเป็นอีกหนึ่งข้อที่สำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อกองทุนอีกด้วย
- การได้ผู้จัดการกองทุนที่มีความสามารถและมีวิสัยทัศน์การลงทุนที่ดีย่อมได้รับผลตอบแทนที่ดีตามมา
- ดังนั้นก่อนเลือกลงทุนในกองทุนรวมผู้ลงทุนควรศึกษาประวัติการบริหารกองทุนของผู้จัดการกองทุนให้ดีก่อนเริ่มลงทุนนั้นเอง
- ยกตัวอย่างเช่น ผู้จัดการกองทุนบางคนอาจเก่งเรื่องการวิเคราะห์ตลาด บางคนอาจเก่งในเรื่องการทำกำไร เป็นต้น
ดูนโยบายการลงทุนของกองทุนรวม
- ด้านนโยบายการลงทุนในแต่ละกองทุนจะมีรายละเอียดการลงทุนที่เรียกว่า Fund Fact Sheet เป็นหนังสือที่บอกว่ากองทุนได้นำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใดและมีเงื่อนไขในการซื้อขายกองทุนเป็นอย่างไร
- นโยบายของการลงทุนในกองทุนรวมจะแบ่งออกเป็น 5 ประเภทหลักๆ ได้แก่
- นโยบายลงทุนในเงินฝากธนาคารหรือตราสารหนี้ระยะสั้นของภาครัฐและเอกชน
- นโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรและหุ้นกู้บริษัทเอกชน
- นโยบายการลงทุนในตราสารทุนหรือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศและนอกประเทศ
- นโยบายการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกเช่น ทองคำ, น้ำมัน, อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
- นโยบายการลงทุนแบบผสม เช่น เลือกซื้อสินทรัพย์ต่างๆ แบบผสม ผลตอบแทนและความเสี่ยงขึ้นอยู่กับสัดส่วนการลงทุนของกองทุน
พิจารณาประเภทของกองทุนรวมให้สอดคล้องกับตัวเอง
- การเลือกประเภทของกองทุนรวมให้เหมาะสมกับการลงทุนของตัวเองเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างมาก
- กองทุนรวมแต่ละประเภทมีระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกันออกไป
- หากอยากได้ผลตอบแทนสูงให้เลือกกองทุนที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กองทุนรวมหุ้น, กองทุนรวมดัชนีหรือกองทุนรวม ETF เป็นต้น
- หากไม่อยากรับความเสี่ยงมากก็อาจมองกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำอย่าง กองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาล, กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นหรือกองทุนรวมตลาดเงิน เป็นต้น
- อีกทั้งกองทุนในแต่ละประเภทยังมีระยะเวลาในถือที่แตกต่างกันทำให้การเลือกประเภทของกองทุนรวมที่เหมาะสมกับตัวเอง จะได้ผลตอบแทนที่ตัวเองต้องการหรือสามารถจัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขนาดของกองทุนรวมที่ต้องการซื้อ
- ขนาดของกองทุนมีผลต่อการดำเนินงานและสภาพคล่องของกองทุนรวม
- โดยทั่วไปกองทุนที่มีขนาดใหญ่จะเพิ่มการกระจายความเสี่ยงและแสดงถึงความมั่นคงในการลงทุนหลักทรัพย์ที่หลากหลายขึ้น
- อีกทั้งกองทุนใหญ่ยังมีสภาพคล่องที่ดีกว่ากองทุนขนาดเล็กหรือกองทุนขนาดกลาง
- แต่กองทุนขนาดใหญ่เมื่อมีการซื้อขายอาจทำให้เกิดความผันผวนของราคาในตลาดได้
ไม่ควรถือกองทุนรวมในจำนวนมากเกินไป
- การถือหรือซื้อกองทุนรวมที่จำนวนมากเกินไปไม่ได้เป็นเครื่องการันตีว่าจะช่วยลดความเสี่ยงได้
- ยิ่งซื้อกองทุนในจำนวนที่มาก อาจทำให้นักลงทุนไม่เวลาติดตามผลงานของกองทุนที่ซื้อมากเท่าที่ควร
- ลองเลือกซื้อกองทุนรวมที่มีประสิทธิภาพซัก 2 – 3 กองทุน และศึกษากองทุนที่ซื้ออย่างละเอียดจะทำให้การจัดการพอร์ตของนักลงทุนมีประสิทธิภาพและสามารถกระจายความเสี่ยงได้ดีมากยิ่งขึ้น
อัตราการจ่ายภาษีของแต่ละกองทุน
- ในแต่ละกองทุนจะมีอัตราการเก็บภาษีที่แตกต่างกันออกไปซึ่งภาษีมีผลกระทบอย่างมากต่อผลตอบแทนที่จะได้รับจากกองทุนรวม
- ปกติผลตอบแทนจากกองทุนรวมมักมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามระยะเวลาที่ถือครองเอาไว้
- หากกองทุนรวมที่เลือกลงทุนไปมีการเก็บภาษีในอัตราที่สูงผลตอบแทนที่ได้อาจจะน้อยลง
- ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาเกี่ยวกับภาษีก่อนเริ่มลงทุนในกองทุนรวมเอาไว้ด้วย
- แต่ในทางกลับกันบางกองทุนของประเทศไทยหากซื้อหรือลงทุนเอาไว้จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการนำไปใช้ลดหย่อนภาษีในภายหลังได้
- ยกตัวอย่างเช่น กองทุนรวม RMF และกองทุน SSF ที่ให้สิทธิลดหย่อนภาษีสูงถึง 30% เป็นต้น
สรุปการเลือกกองทุนรวม
- การเลือกทุนให้เหมาะสมกับตัวเองต้องกำหนดเป้าหมายการลงทุนให้ชัดเจนก่อน เพื่อจะได้รู้ว่าผู้ลงทุนรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหนหรือต้องการผลตอบแทนรูปแบบใด
- หลังจากนั้นศึกษากองทุนประเภทต่างๆ และเลือกกองทุนที่มีนโยบายสอดคล้องกับตัวผู้ลงทุนมากที่สุด แล้วเลือกซื้อกองทุนในจำนวนที่น้อยแต่แยกประเภทกองทุนเพื่อกระจายความเสี่ยง
- อย่าลืมพิจารณาเรื่องค่าธรรมเนียม, ผลตอบแทน, เงื่อนไขการซื้อและขาย, อัตราการจ่ายภาษีหรือแม้แต่ศึกษาประวัติและความสามารถในบริหารของผู้จัดการกองทุน
- จะทำให้การลงทุนในกองทุนรวมมีประสิทธิภาพและรับผลตอบแทนที่สม่ำเสมอได้อย่างไม่ยากเย็น