ปัจจุบันหากคุณไม่มีเวลาให้กับการลงทุนในหุ้นของคุณ การซื้อกองทุนรวมถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับนักลงทุนรายใหม่ที่กำลังมองหาลู่ทางในการลงสนามการลงทุน วันนี้เราไปทำความรู้จักกับกองทุนรวมให้มากขึ้นกันดีกว่า
ทำความรู้จักกับกองทุนรวม

กองทุนรวมเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอะไร
- อาจเป็นข้อมูลที่ยังไม่ชัดเจนว่ากองทุนรวมกองทุนแรกเกิดขึ้นเมื่อใด
- ซึ่งตามข้อมูลที่ได้รับมาจะพบว่ากองทุนกองแรกเกิดขึ้นเมื่อปี 1774 โดยพ่อค้าชาวดัชต์ชื่อ Adriaan Van Ketwich ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ Eendragt Maakt Magt
- แต่ต่อมาในปี 1924 ได้เป็นการถือกำเนิดของกองทุนรวมในยุคสมัยใหม่ขึ้นในเมือง Boston ประเทศสหรัฐอเมริกา และหลังจากนั้นเป็นต้นมากองทุนรวมก็ได้ถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน
- จนกลายเป็นหนึ่งในการลงทุนที่น่าจับตามองสำหรับนักลงทุนรายย่อยที่มีจำนวนเงินลงทุนน้อย

กองทุนรวมเข้ามาในประเทศไทยเมื่อใด
- กองทุนในประเทศไทยเกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2520 ซึ่งเกิดตรงกับยุคสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
- เป็นเวลากว่า 47 ปี ที่กองทุนรวมค่อยๆ เติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนมาถึงในปัจจุบัน
- โดยปัจจุบันมูลค่าของกองทุนรวมคิดเป็น 1 ใน 3 ของ GDP ประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อย
- “กองทุนสินภิญโญ” ถือเป็นกองทุนรวมกองแรกของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2520
- ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีกองทุนรวมมากกว่า 2,000 กองทุน ให้ได้เลือกลงทุน

ความหมายของกองทุนรวม
- กองทุนรวม หมายถึง การระดมเงินทุนจากนักลงทุนหลายรายมารวมกันให้เป็นก้อนใหญ่
- เพื่อนำเงินเหล่านั้นไปลงทุนกับบริษัทหลักทรัพย์หรือตามที่นโยบายของกองทุนนั้นๆ ได้กำหนดไว้
- ซึ่งการลงทุนที่ถูกนำไปลงทุนจะมีตั้งแต่การลงทุนในตราสารหนี้, หุ้นต่างประเทศและในประเทศ, อสังหาริมทรัพย์และสินทรัพย์อื่นๆ

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งกองทุนรวมในประเทศไทย
- เพื่อเพิ่มสัดส่วนนักลงทุนของสถาบันในประเทศไทย
- ส่งเสริมให้คนไทยมีนิสัยรักการลงทุนในระยะยาวมากยิ่งขึ้น
- ช่วยเพิ่มทางเลือกให้นักลงทุนรายย่อยสามารถเข้าถึงการลงทุนที่หลากหลาย
กองทุนรวมมีกี่รูปแบบ
สำหรับกองทุนรวมมีด้วยกัน 2 แบบหลักๆ ได้แก่ กองทุนแบบ Active และกองทุนแบบ Passive โดยความแตกต่างของกองทุนทั้ง 2 รูปแบบมีดังนี้
กองทุนรวมแบบ Passive Fund
- กองทุนแบบ Passive Fund หรือ Index Fund หรือรู้จักกันในอีกชื่อ กองทุนรวมดัชนี เป็นกองทุนที่ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีมากที่สุด เท่าที่จะเป็นได้
- กองทุนแบบ Passive Fund ไม่จำเป็นต้องมีผู้จัดการกองทุน
- โดยกองทุนนี้จะทำการเลือกหุ้นทุกตัวในตลาดที่มีราคาสมเหตุสมผล
- กองทุนรูปแบบนี้จะเป็นการลงทุนเลียนแบบดัชนี ทำให้สามารถถือหุ้นได้ยาวกว่า
- กองทุนรูปแบบนี้จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการถือหุ้นระยะยาวและผู้ที่ไม่มีความรู้หรือไม่มีเวลาในการวิเคราะห์
- สำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในกองทุนแบบ Passive Fund มีค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่ากองทุนแบบ Active
- สำหรับข้อเสียของกองทุนรูปแบบนี้คือ จะมีความผันผวนตามราคาหุ้นในตลาด อีกทั้งกองทุนรวมดัชนีไม่สามารถลดทอนหรือขายหุ้นออกจากพอร์ตได้หมด หากว่าราคาหุ้นลดลงอาจจะมีความเสี่ยงสูง
กองทุนรวมแบบ Active Fund
- เป็นการลงทุนหรือบริการแบบเชิงรุก
- กองทุนประเภทนี้จะใช้ความสามารถของผู้จัดการกองทุนในการคัดเลือกสินทรัพย์
- เป้าหมายของกองทุนนี้คือต้องการให้นักลงทุนได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
- โดยสามารถแบ่งการวิเคราะห์ของกองทุนได้ 2 แบบ คือ วิเคราะห์แบบ Top-Down Analysis และวิเคราะห์แบบ Bottom-Up Analysis
- สำหรับกองทุน Active Fund จะมีการเก็บค่าธรรมเนียมที่แพงกว่า Passive Fund แต่ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ามากกว่าหากได้ผู้จัดการกองทุนที่มีความสามารถ
- อีกทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยนการลงทุนได้ตามสภาวะของเศรษฐกิจ
- เหมาะมากสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนสูงได้

ข้อดี – ข้อเสียของการลงทุนในกองทุนรวมมีอะไรบ้าง
ข้อดีของการลงทุนในกองทุนรวม
- การกระจายความเสี่ยง การลงทุนในกองทุนรวมถือเป็นการกระจายความเสี่ยงได้อย่างดีเนื่องจากการซื้อกองทุนรวมเป็นการนำเงินไปลงทุนในหลักทรัยพ์กระจายๆ ไม่ได้ลงทุนตัวใดตัวหนึ่งเป็นหลัก
- สามารถเข้าถึงได้ง่าย ตอบโจทย์สำหรับนักลงทุนรายย่อยที่ไม่ได้มีเงินทุนมากนัก ในการลงทุนหลักทรัพย์แบบหลายตัว
- มีความโปร่งใส ซึ่งกองทุนรวมอยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายเพื่อให้นักลงทุนได้รับความเป็นธรรมจากการลงทุนและกองทุนมีความรับผิดชอบหากเกิดปัญหาอะไรขึ้น
- มีผู้จัดการที่มีความมืออาชีพสูง ในการจัดการเงินลงทุนของผู้ซื้อกองทุนรวม
- รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี สำหรับกองทุนเพื่อการออม (SSF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรได้ตั้งเอาไว้
- สะดวก รวดเร็วและไม่ต้องใช้เวลานานในการศึกษาข้อมูล สำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ที่ต้องการเข้าสู่วงการลงทุนระยะยาวแต่ยังไม่รู้ว่าจะลงทุนในหุ้นหรือหลักทรัพย์ไหนดี กองทุนรวมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีและไม่จำเป็นต้องเฝ้าดูความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ข้อเสียของการลงทุนในกองทุนรวม
- ไม่มีสิทธิ์ในการจัดสรรเงินลงทุนได้เอง เนื่องจากนักลงทุนนำเงินของตัวเองไปให้ผู้จัดการกองทุนเป็นคนดูแลในการซื้อสินทรัพย์
- ราคาของกองทุนรวมจะเป็นราคา NAV หรือเปลี่ยนราคาวันละครั้งเท่านั้น ไม่เหมือนกับตลาดหุ้นที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบทันทีหรือ Real time
- บางกองทุนมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่แพง โดยเฉพาะกองทุนแบบ Active
- ไม่มีการรับประกันผลตอบแทน การลงทุนในกองทุนรวมก็มีความผันผวนของราคาตามสินทรัพย์ที่อยู่ในกองทุน บางวันกองทุนรวมอาจมีมูลค่าอ่อนตัวลงหรือบางวันมีมูลค่าที่สูงขึ้นนั้นเอง
- การซื้อขายเป็นแบบวันต่อวัน อีกหนึ่งข้อแตกต่างจากการลงทุนในกองทุนรวม คือการซื้อขายทำได้แบบวันต่อวันเท่านั้น ไม่เหมือนกับหุ้นที่สามารถซื้อขายได้ตลอดทั้งวัน

ข้อดี – ข้อเสียของการลงทุนในกองทุนรวมมีอะไรบ้าง
ข้อดีของการลงทุนในกองทุนรวม
- การกระจายความเสี่ยง การลงทุนในกองทุนรวมถือเป็นการกระจายความเสี่ยงได้อย่างดีเนื่องจากการซื้อกองทุนรวมเป็นการนำเงินไปลงทุนในหลักทรัยพ์กระจายๆ ไม่ได้ลงทุนตัวใดตัวหนึ่งเป็นหลัก
- สามารถเข้าถึงได้ง่าย ตอบโจทย์สำหรับนักลงทุนรายย่อยที่ไม่ได้มีเงินทุนมากนัก ในการลงทุนหลักทรัพย์แบบหลายตัว
- มีความโปร่งใส ซึ่งกองทุนรวมอยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายเพื่อให้นักลงทุนได้รับความเป็นธรรมจากการลงทุนและกองทุนมีความรับผิดชอบหากเกิดปัญหาอะไรขึ้น
- มีผู้จัดการที่มีความมืออาชีพสูง ในการจัดการเงินลงทุนของผู้ซื้อกองทุนรวม
- รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี สำหรับกองทุนเพื่อการออม (SSF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรได้ตั้งเอาไว้
- สะดวก รวดเร็วและไม่ต้องใช้เวลานานในการศึกษาข้อมูล สำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ที่ต้องการเข้าสู่วงการลงทุนระยะยาวแต่ยังไม่รู้ว่าจะลงทุนในหุ้นหรือหลักทรัพย์ไหนดี กองทุนรวมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีและไม่จำเป็นต้องเฝ้าดูความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ข้อเสียของการลงทุนในกองทุนรวม
- ไม่มีสิทธิ์ในการจัดสรรเงินลงทุนได้เอง เนื่องจากนักลงทุนนำเงินของตัวเองไปให้ผู้จัดการกองทุนเป็นคนดูแลในการซื้อสินทรัพย์
- ราคาของกองทุนรวมจะเป็นราคา NAV หรือเปลี่ยนราคาวันละครั้งเท่านั้น ไม่เหมือนกับตลาดหุ้นที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบทันทีหรือ Real time
- บางกองทุนมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่แพง โดยเฉพาะกองทุนแบบ Active
- ไม่มีการรับประกันผลตอบแทน การลงทุนในกองทุนรวมก็มีความผันผวนของราคาตามสินทรัพย์ที่อยู่ในกองทุน บางวันกองทุนรวมอาจมีมูลค่าอ่อนตัวลงหรือบางวันมีมูลค่าที่สูงขึ้นนั้นเอง
- การซื้อขายเป็นแบบวันต่อวัน อีกหนึ่งข้อแตกต่างจากการลงทุนในกองทุนรวม คือการซื้อขายทำได้แบบวันต่อวันเท่านั้น ไม่เหมือนกับหุ้นที่สามารถซื้อขายได้ตลอดทั้งวัน

ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนในกองทุนรวม
- กองทุนรวมผลตอบแทนจะได้จากกำไรส่วนต่างของราคาซื้อและราคาขาย ซึ่งรายได้จากกำไรส่วนต่างนี้ไม่จำเป็นต้องเสียภาษี
- เงินปันผล นักลงทุนจะได้รับเงินปันผลตามที่กองทุนรวมตั้งไว้ โดยรายได้จากส่วนจะต้องเสียภาษีเงินได้
- ได้รับผลตอบแทนจากการขายคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ ซึ่งผลตอบแทนในส่วนนี้จำเป็นต้องเสียภาษี

นักลงทุนแบบไหน เหมาะกับการลงทุนในกองทุนรวม
สำหรับนักลงทุนท่านใดที่กำลังสนใจในการลงทุนกองทุนรวม วันนี้เราจะมาบอกว่ากองทุนรวมเหมาะสมกับใคร จะได้นำข้อมูลเหล่านี้มาประกอบการตัดสินใจในการลงทุนนั้นเอง
- เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงความผันผวนของราคาหุ้นที่มีอยู่ในกองทุนได้
- เหมาะสำหรับนักลงทุนที่สามารถลงทุนได้ในระยะยาวหรือกลางได้ การลงทุนในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าระยะสั้น
- เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการใช้สิทธิประโยนชน์การลดหย่อนภาษี
- เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการหาการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนที่มากกว่าการฝากเงิน
- เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงให้กับสินทรัพย์ที่หลากหลาย

บทบาทที่สำคัญของกองทุนรวมที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ
- เป็นหนึ่งในตัวแปรที่สำคัญของ GDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
- การลงทุนทำให้มีการกระจายรายได้ในระบบเศรษฐกิจทำให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น
- หน่วยธุรกิจที่ลงทุนจะช่วยในการกระจายทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอีกด้วย
- ซึ่งการลงทุนในกองทุนจะเป็นการนำเงินเข้าสู่ระบบทำให้เกิด การลงทุน, การจ้างงานและการใช้จ่ายที่สูงขึ้น
สรุป
- กองทุนรวมเหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่และนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในสินทรัพย์แต่มีเงินทุนก้อนไม่ใหญ่มาก
- อีกทั้งยังเหมาะกับใครก็ตามที่ไม่ค่อยมีเวลาว่างในการศึกษาหาข้อมูลเรื่องหุ้นหรือหลักทรัพย์อื่นๆ เพียงแค่เลือกกองทุนที่น่าสนใจและให้ผู้จัดการกองทุนเป็นคนดูแลในการซื้อสินทรัพย์
- แต่กองทุนรวมไม่เหมาะกับคนที่ต้องการลงทุนในระยะสั้นเนื่องจากไม่สามารถซื้อขายได้แบบรายชั่วโมงหรือรายนาที จะเหมาะกับคนที่ต้องการถือสินทรัพย์หรือหุ้นในระยะยาวมากกว่า 6 เดือน ถึงจะเห็นกำไรมาก
- นอกจากนี้กองทุนรวมยังเหมาะกับใครก็ตามที่กำลังจะเก็บเงินแต่ไม่ชอบวิธีการออมแบบฝากธนาคารลองเลือกกองทุนรวมสักหนึ่งกองทุนที่สามารถถือได้ระยะยาวและมีความเสี่ยงจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากแน่นอน