ประเภทของกองทุนรวม วิเคราะห์ความเสี่ยงและผลตอบแทน

ประเภทของกองทุนรวมมีอะไรบ้าง

  • กองทุนรวมสามารถแบ่งออกได้ตามระดับความเสี่ยง
  • ซึ่งแต่ละกองทุนจะมีนโยบายที่แตกต่างกันออกไปตามผู้จัดการกองทุน
  • โดยปัจจุบันประเภทของกองทุนในประเทศไทยมีให้เลือกได้หลากหลายมาก โดยกองทุนหลักในประเทศไทยมีดังนี้

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF (Retirement Mutual Fund)

  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นกองทุนที่ส่งเสริมให้เกิดการออมเงินในระยะยาว
  • เป็นกองทุนที่สามารถลงทุนได้ทุกประเภทสินทรัพย์ เช่น ตราสารหนี้, หุ้นในประเทศและต่างประเทศ, สินทรัพย์ต่างๆและอื่นๆ
  • ระยะเวลาในการลงทุน ควรลงทุนด้วยระยะเวลาเกิน 5 ปี โดยมีการบังคับซื้อแบบปีเว้นปีจนถึงอายุ 55 จึงจะถอนออกมาได้ 
  • มีสิทธิลดหย่อนให้สำหรับผู้ซื้อกองทุน โดยจะให้สิทธิลดหย่อน 30% ของเงินได้

วิเคราะห์ความเสี่ยงของกองทุนรวม RMF 

  • ความเสี่ยงของกองทุน RMF ขึ้นอยู่กับประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุนไป
  • หากเน้นการลงทุนในตราสารนี้ของประเทศไทยจะมีระดับความเสี่ยงที่ต่ำ
  • แต่หากอยากได้ผลตอบแทนในระดับสูงก็สามารถเลือกลงทุนในกองทุนหุ้นที่มีนโยบายเฉพาะจงเจาะ

ผลตอบแทนของกองทุนรวม RMF 

  • ผลตอบแทนของกองทุนรวม RMF จะอยู่ในรูปแบบของดอกเบี้ยเงินสะสม
  • ยิ่งนำเงินมาออมในพอร์ตของกองทุนทุกๆ ปี ดอกเบี้ยที่จะได้รับก็จะเพิ่มขึ้นทุกปี
  • นอกจากนี้ผลตอบแทนทางอ้อมของกองทุนนี้คือ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย

กองทุนรวม SSF (Super Saving Funds)

  • เป็นกองทุนที่สนับสนุนการลงทุนในระยะยาวสำหรับคนวัยทำงาน
  • มีนโยบายการลงทุนให้ลงทุนในหลักทรัพย์ได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น กองทุนดัชนี, หุ้น, ตราสารหนี้และการลงทุนในตลาดเงิน
  • ให้สิทธิในการลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้
  • ระยะเวลาที่ต้องถือกองทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อกองทุน
  • ไม่จำเป็นต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี เมื่อครบกำหนดเวลาสามารถถอนออกได้เลย

วิเคราะห์ความเสี่ยงของกองทุนรวม 

  • เป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับกลางค่อนข้างสูง
  • โดยความเสี่ยงขึ้นอยู่กับความผันผวนของราคาสินทรัพย์ในกองทุน
  • และความสามารถจัดการกองทุนของผู้จัดการกองทุนนั้นเอง

ผลตอบแทนของกองทุนรวม 

  • กองทุน SSF จ่ายผลตอบแทนในการลงทุนแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ แบบเงินปันผลและเงินสะสมมูลค่า
  • แบบเงินปันผล จะได้รับเมื่อลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายจ่ายเงินแบบเงินปันผล เมื่อกองทุนได้รับผลดอกหรือกำไรจากการลงทุน จะมีการจ่ายเงินแบบเงินปันผลออกมาและเงินปันผลจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10%
  • แบบเงินเงินสะสมมูลค่า ในกองทุนรวม SSF จะมีบางกองทุนที่ไม่มีนโยบายการจ่ายเงินปันผล เมื่อกองทุนได้รับดอกผลหรือกำไรจากการลงทุน ผู้จัดการกองทุนจะสะสมและนำดอกผลนั้นไปลงทุนต่อเพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติม
  • นอกจากนี้ผลตอบแทนของกองทุน SSF ยังอยู่ในรูปแบบการใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้อีกด้วย

กองทุนรวมตราสารหนี้ (Fixed Income Fund)

  • เป็นกองทุนที่เหมาะสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งหัดลงทุน
  • มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ มีหลายรูปแบบเช่น พันธบัตรรัฐบาล, ตั๋วเงินคลัง, ตั๋วแลกเงินและหุ้นกู้ของภาคเอกชน
  • ซึ่งสามารถเลือกลงทุนได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

วิเคราะห์ความเสี่ยงของกองทุนรวมตราสารหนี้

  • ความเสี่ยงของกองทุนตราสารหนี้ แบ่งออกได้เป็นด้านต่างๆ ได้แก่
  • ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย เพราะเมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ราคาตราสารหนี้จะปรับลดลง หากไม่อยากรับความเสี่ยงตรงนี้สามารถซื้อกองทุนที่มีระยะเวลาสั้นได้
  • ความเสี่ยงจากความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารหนี้ หากผู้ออกตราสารหนี้ม่าสามารถทำตามเงื่อนไขที่มีอยู่ได้ จะทำให้ส่งผลกระทบในการลงทุนได้
  • ความเสี่ยงจากเวลาการเปิดปิดกองทุนในแต่ละช่วงเวลา 

ผลตอบแทนของกองทุนรวมตราสารหนี้

  • ผลตอบแทนของกองทุนตราสารหนี้จะอยู่ในรูปแบบของ ดอกเบี้ย อีกทั้งจะได้รับเงินต้นคืนเมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดไว้
  • ผลตอบแทนของกองทุนตราสารหนี้อาจไม่สูงมาก ขึ้นอยู่กับประเภทของตราสารหนี้ที่ได้ลงทุนไป
  • แต่ผลตอบแทนของกองทุนตราสารนี้จะได้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ เฉลี่ยที่ 2 – 5% ของเงินลงทุน

กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund)

  • เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในเงินฝากของธนาคารหรือตราสารนี้
  • เป็นกองทุนที่ลงทุนในระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี 
  • โดยสินทรัพย์ที่นิยมลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงิน เช่น ตั๋วเงินคลัง, ตั๋วแลกเงิน, พันธบัตรหรือหุ้นกู้เอกชน

วิเคราะห์ความเสี่ยงของกองทุนรวมตลาดเงิน

  • เป็นกองทุนที่มีสภาพคล่องสูงอีกทั้งยังมีความผันผวนของการลงทุนน้อย
  • อีกทั้งยังเป็นกองทุนที่มีระยะเวลาในการลงทุนสั้น น้อยกว่า 1 ปี
  • ทำให้กองทุนรวมตลาดเงินมีความเสี่ยงที่ต่ำมาก

ผลตอบแทนของกองทุนรวมตลาดเงิน

  • ผลตอบแทนของกองทุนรวมตลาดเงินจะให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับการฝากเงินกับธนาคาร
  • แต่ผลตอบแทนที่ได้จะสูงกว่าเล็กน้อย
  • หากนักลงทุนคนไหนอยากได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเดิมสามารถเลือกลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนได้อีกด้วย แต่ควรตรวจสอบความเสี่ยงให้ดี

กองทุนรวมดัชนี (Index Equity Funds)

  • เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับการลงทุนในดัชนี
  • เป็นการลงทุนในรูปแบบ Passive 
  • โดยดัชนีที่ใช้อ้างอิงเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ใกล้เคียง เช่น SET Index, SET50 Index

วิเคราะห์ความเสี่ยงของกองทุนรวมดัชนี

  • กองทุนรวมดัชนีเหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่ไม่เวลาศึกษาหาข้อมูลมากนัก
  • โดยความเสี่ยงของกองทุนจะแปรผันตามดัชนีที่ใช้อ้างอิง
  • แต่มีความเสี่ยงต่ำกว่ากองทุนรวมหุ้นทั่วไป

ผลตอบแทนของกองทุนรวมดัชนี

  • ผลตอบแทนของกองทุนรวมดัชนีจะขึ้นอยู่กับดัชนีอ้างอิง
  • โดยผู้จัดการกองทุนจะพยายามบริหารการลงทุนให้ได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิงมากที่สุด
  • เช่น ถ้าผลตอบแทนของดัชนีอ้างอิงสูงขึ้น 20% มูลค่ากองทุนรวมดัชนีจะเพิ่มขึ้นใกล้เคียง 20%

กองทุนรวมหุ้น (Equity Funds)

  • เป็นกองทุนที่มีนโยบายในการลงทุนตราสารทุนประเภทต่างๆ
  • อีกทั้งยังมีการลงทุนที่หลากหลายขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้จัดการกองทุนว่าจะเลือกให้กองทุนเติบโตไปในทางทิศทางไหน เช่น
  •  บางกองทุนอาจเลือกลงทุนในหุ้นที่มีอัตราการเติบโตสูงหรือบางกองทุนอาจเลือกลงทุนในหุ้นที่มีคุณภาพ เป็นต้น
  • ซึ่งผู้ที่เข้ามาลงทุนในกองทุนรวมหุ้นต้องเข้าใจตลาดและราคาของหุ้นที่มีการขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา

วิเคราะห์ความเสี่ยงของกองทุนรวมหุ้น

  • เป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับสูง โดยมีปัจจัยที่ส่งผลทำให้เกิดความเสี่ยง ดังนี้
  • ความเสี่ยงเกิดมาจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ที่กองทุนลงทุนไป
  • ความเสี่ยงจากผู้จัดการกองทุน ที่วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตัดสินใจลงทุนและกำหนดสัดส่วนการกระจายการลงทุนไม่เหมาะสม
  • ความเสี่ยงจากสภาวะเศรษฐกิจของโลก ซึ่งปัจจัยนี้มีผลต่อราคาหุ้นในตลาดเช่นกัน

ผลตอบแทนของกองทุนรวมหุ้น

  • ผลตอบแทนของกองทุนรวมหุ้นจะขึ้นอยู่กับราคาหุ้นในกองทุนที่ผู้จัดการกองทุนได้เลือกลงทุนเอาไว้
  • ซึ่งผลตอบแทนจากการลงทุนของกองทุนรวมหุ้นจะสูงกว่าการลงทุนในกองทุนทุกประเภท แต่ก็แลกมากับความเสี่ยงที่สูงเช่นกัน
  • เนื่องจากหากราคาหุ้นขึ้นกองทุนของเราก็จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตาม แต่หากราคาหุ้นลดกองทุนที่เราได้ลงทุนไว้ก็จะมีมูลค่าลดลงเช่นกัน
  • ทำให้ส่วนใหญ่กองทุนรวมหุ้นจะมีนโยบายในลงทุนกระจายหุ้นหลายๆ ตัว เพื่อลดความเสี่ยงในจุดนี้ลงนั้นเอง

กองทุนทองคำ (Gold Fund)

  • เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในทองคำ เปรียบเสมือนการลงนำเงินไปลงทุนในทองคำแท่งทางอ้อม
  • โดยกองทุนทองคำใช้เงินในการเริ่มต้นลงทุนจำนวนน้อย ราคาขั้นต่ำอยู่ที่ 10,000 บาท
  • สามารถทำรายการซื้อขายได้สะดวก มีความปลอดภัยไม่ต้องกังวลเรื่องการสูญหาย
  • มีมืออาชีพคอยให้ความดูแลและบริหารจัดการให้ แต่จะมีค่าธรรมเนียมในการบริหารจัดการ
  • เหมาะสมกับการลงทุนในระยะยาว

วิเคราะห์ความเสี่ยงของกองทุนทองคำ

  • ความเสี่ยงของกองทุนจะขึ้นอยู่กับราคาของทองคำโลกและอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินเนื่องจากเป็นกองทุนที่นำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ
  • หากไม่อยากให้เกิดความเสี่ยงสามารถเลือกลงทุนในราคาทองคำเพียงอย่างเดียวได้ โดยไม่สนใจกำไรหรือส่วนต่างจากอัตราการแลกเปลี่ยน
  • แต่หากคุณต้องการเป็นสายทำกำไรก็สามารถเลือกกองทุนรวมที่ไม่ได้มีการป้องกันความเสี่ยงเอาไว้เลยได้
  • ซึ่งความเสี่ยงต่างๆ จะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจและนโยบายการลงทุนของผู้จัดการกองทุนด้วย

ผลตอบแทนของกองทุนทองคำ

  • การลงทุนในกองทุนทองคำจะเป็นการลงทุนผ่านกองทุนหลักในต่างประเทศ มูลค่าของกองทุนจะขึ้นอยู่กับราคาทองคำโลก
  • ผลตอบแทนของกองทุนทองคำจะมีด้วยกัน 2 แบบได้แก่ 
  • ผลตอบแทนจากราคาทองคำเพียงอย่างเดียว กับ ผลตอบแทนจากกำไรเพิ่มเติมในอัตราแลกเปลี่ยน

กองทุนรวมหุ้น ETF (Exchange Trade Fund)

  • กองทุนรวมหุ้น ETF มีนโยบายการลงทุนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับดัชนีราคาหลักทรัพย์, ดัชนีราคาตราสารหนี้, ดัชนีอ้างอิงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เป็นต้น
  • ความแตกต่างของกองทุนรวม ETF กับกองทุนรวมหุ้นทั่วไปมีดังนี้
  • นักลงทุนสามารถซื้อขายกองทุนหุ้น ETF ได้ผ่านโบรกเกอร์เหมือนกับการซื้อหุ้น ต่างจากการซื้อกองทุนรวมทั่วไป
  • ราคาซื้อขายเป็นราคาแบบ Real Time ตามตลาด ซึ่งต่างกับกองทุนทั่วไปที่ต้องรอการคำนวณ NAV ก่อนจะทราบราคาซื้อขาย

วิเคราะห์ความเสี่ยงของกองทุนรวมหุ้น ETF

  • กองทุนรวมหุ้น ETF จะมีการกระจายความเสี่ยงโดยการลงทุนในหุ้นหลายๆ ตัว
  • แต่ความเสี่ยงก็ยังขึ้นอยู่กับความผันผวนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจ, การเงิน, ราคาหลักทรัพย์
  • ซึ่งกองทุนนี้เหมาะสำหรับใครก็ตามที่ต้องการกระจายความเสี่ยงของหลักทรัพย์ไว้ในการลงทุนหลายๆ ตัว

ผลตอบแทนของกองทุนรวมหุ้น ETF

  • ผลตอบแทนของกองทุนรวมหุ้น ETF ขึ้นอยู่กับความแปรผันของดัชนีอ้างอิง
  • ซึ่งผลตอบแทนจะขึ้นอยู่ราคาหุ้นหรือราคาหลักทรัพย์ในตลาด
  • หากราคาตลาดมีมูลค่าสูงขึ้นราคาของกองทุนรวมหุ้น ETF ก็จะสูงขึ้นตามดัชนีอ้างอิงนั้นเอง

กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund: FIF)

  • กองทุนนี้เป็นกองทุนที่เน้นการลงทุนในต่างประเทศ โดยมูลค่าของการลงทุนไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สิน
  • กองทุนต้องลงทุนในประเทศที่มีหน่วยงานกำกับดูแลและเป็นสมาชิกของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (IOSCO) เพื่อให้หลักทรัพย์ที่ผู้ลงทุนนำไปลงทุนนั้นจะได้รับการกำกับดูแลอย่างดีตามมาตรฐานสากล
  • ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยแบ่งการบริหารกองทุนออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบบริหารกองทุนด้วยตัวเองและการบริหารกองทุนด้วยผู้จัดการกองทุนในต่างประเทศ

วิเคราะห์ความเสี่ยงของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ

  • ความเสี่ยงขึ้นอยู่กับหลักทรัพย์ที่ลงทุน เช่น ภาวะราคาหุ้นในตลาด, เรื่องการชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร
  • ความเสี่ยงที่เกิดจากสภาวะเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศที่นักลงทุนเข้าไปลงทุน
  • ความเสี่ยงจากอัตราการแลกเปลี่ยนเงินระหว่างประเทศ ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือที่รู้จักกันในชื่อ “hedging”

ผลตอบแทนของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ

  • ผลตอบแทนของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศมีได้หลากหลายขึ้นอยู่กับนโยบายของกองทุน เช่น
  • หากเป็นกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้อาจได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยและเงินต้น
  • หรือหากลงทุนในกองทุนรวมหุ้น ก็จะได้ผลตอบแทนเมื่อราคาหุ้นมีความเปลี่ยนแปลง

กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund: FIF)

  • กองทุนนี้เป็นกองทุนที่เน้นการลงทุนในต่างประเทศ โดยมูลค่าของการลงทุนไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สิน
  • กองทุนต้องลงทุนในประเทศที่มีหน่วยงานกำกับดูแลและเป็นสมาชิกของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (IOSCO) เพื่อให้หลักทรัพย์ที่ผู้ลงทุนนำไปลงทุนนั้นจะได้รับการกำกับดูแลอย่างดีตามมาตรฐานสากล
  • ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยแบ่งการบริหารกองทุนออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบบริหารกองทุนด้วยตัวเองและการบริหารกองทุนด้วยผู้จัดการกองทุนในต่างประเทศ

วิเคราะห์ความเสี่ยงของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ

  • ความเสี่ยงขึ้นอยู่กับหลักทรัพย์ที่ลงทุน เช่น ภาวะราคาหุ้นในตลาด, เรื่องการชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร
  • ความเสี่ยงที่เกิดจากสภาวะเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศที่นักลงทุนเข้าไปลงทุน
  • ความเสี่ยงจากอัตราการแลกเปลี่ยนเงินระหว่างประเทศ ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือที่รู้จักกันในชื่อ “hedging”

ผลตอบแทนของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ

  • ผลตอบแทนของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศมีได้หลากหลายขึ้นอยู่กับนโยบายของกองทุน เช่น
  • หากเป็นกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้อาจได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยและเงินต้น
  • หรือหากลงทุนในกองทุนรวมหุ้น ก็จะได้ผลตอบแทนเมื่อราคาหุ้นมีความเปลี่ยนแปลง

สรุป

  • ประเภทของกองทุนรวมนั้นมีหลากหลายประเภทขึ้นอยู่กับสินทรัพย์
  • กองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำมากที่สุด คือกองทุนรวมตลาดเงิน
  • ในขณะที่กองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก เช่น ทองคำ, น้ำมัน, หุ้นหรือสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ จะมีความเสี่ยงที่สูง
  • อีกทั้งกองทุนบางประเภทยังเป็นกองทุนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการออมเงินไว้ใช้ในอนาคต
  • ซึ่งนักลงทุนสามารถเลือกกองทุนที่มีนโยบายและผลตอบแทนตามที่ตัวเองต้องการได้เลย